แบบสอบเพื่มเติม

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย ในภาพคือฉบับ พ.ศ. 2492 ที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทรงลงพระนามและลงนาม จัดแสดง ณ นิทรรศการ "รัฐธรรมนูญใหม่ของคนไทย" ที่รัฐสภา วันที่ 24 สิงหาคม 2551

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553


เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

องค์ประกอบด้านลักษณะ ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการยึดตนอยู่บนทางสายกลางก็เป็นได้
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล คือการ เตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น